ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553

"ทีโอที" ยุคเจาะเวลาหาอดีต แก้ปมคดียึดทรัพย์หนี ป.ป.ช.ลงดาบ

วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 33 ฉบับที่ 4192  ประชาชาติธุรกิจ


"ทีโอที" ยุคเจาะเวลาหาอดีต แก้ปมคดียึดทรัพย์หนี ป.ป.ช.ลงดาบ




นับตั้งแต่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอ่านคำตัดสินคดียึดทรัพย์อดีตนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แล้ว เมฆหมอกก็เริ่มครอบคลุมบรรยากาศใน บมจ.ทีโอที เนื่องจากโดนหางเลขเข้าเต็ม ๆ โดยเฉพาะกรณีการแก้ไขสัญญาสัมปทานมือถือปรับลดส่วนแบ่งรายได้บริการพรีเพดให้เอไอเอส จาก 25% เป็น 20% คงที่ตลอดอายุสัญญา (ตั้งแต่ 1 มิ.ย. 2544) รวมถึงกรณีการแก้ไขสัญญาโทรศัพท์มือถือโดยอนุญาตให้เอไอเอสหักใช้โครงข่าย ร่วมออกจากรายได้รวม ก่อนนำส่งส่วนแบ่งรายได้ให้ทีโอที และปรับอัตราค่าโรมมิ่งให้บริษัท ดิจิตอล โฟน จำกัด (ดีพีซี) ในฐานะบริษัทลูกของ เอไอเอส ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ได้ประเมินความเสียหายไว้ 1.36 แสนล้านบาท

ขณะที่ปฏิกิริยา อย่างเป็นทางการของทีโอทีหลังจากอ่านคำพิพากษาแล้ว คือ การตั้งคณะทำงานประเมินความเสียหายจากคดียึดทรัพย์ โดยได้ประเมินว่า ทีโอทีเสียหายทั้งหมดราว 1 แสนล้านบาท มาจากการเก็บภาษีสรรพสามิตโทรคมนาคม 3.4 หมื่นล้านบาท และอีก 7 หมื่นล้านบาท มาจากการแก้ไขสัญญาพรีเพดให้เอไอเอส

นอกจากนี้กรรมการผู้จัดการใหญ่ "วรุธ สุวกร" ยังออกมาย้ำอีกว่า การจะยกเลิกการแก้ไขสัญญาที่มีปัญหาทั้ง 2 ฉบับ แล้วกลับมาใช้สัญญาเดิมเป็นเรื่องยากที่จะเกิดขึ้น เพราะสัญญาดังกล่าวมีผลผูกพันตามกฎหมายแล้ว แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับกระบวนการของศาลอีกครั้ง

ขณะนี้จึงอยู่ในช่วงเวลาของการหาคนผิด หรือคนรับผิดชอบต่อการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีต แหล่งข่าวภายใน บมจ.ทีโอทีกล่าวว่า ขณะนี้ผู้บริหารระดับสูงทั้งหลายล้วนอยู่ในภาวะเหมือนคนใกล้จะจมน้ำ ต้องตะเกียกตะกายหาทางรอดชีวิตอย่างเต็มที่ โดยต่างย้อนกลับไปค้นเอกสารหลักฐานเก่า เพื่อยืนยันตำแหน่งหน้าที่ว่า ตอนนั้นตนเองทำอะไรอยู่ที่ไหน ได้เข้าประชุมด้วยหรือไม่ และได้มีข้อเสนอความเห็นในที่ประชุมที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขสัญญาทั้ง 2 ฉบับไว้อย่างไร

โดยเฉพาะบุคคลที่มีชื่อถูกพาดพิงในคำพิพากษา ไม่ว่าจะเป็น นายวรุธ สุวกร กรรมการผู้จัดการใหญ่ ที่อดีตรับผิดชอบด้านบริหารสัญญาสัมปทาน เช่นเดียวกับนายวิเชียร นาคสีนวล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ซึ่งรายหลังนี้เหมือนโดนเปิดศึก 2 ด้าน เนื่องจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพิ่งมีคำวินิจฉัยว่า กระทำผิดวินัยร้ายแรง และมีมูลเป็นความผิดทางอาญาฐานเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จากการแก้ไขสัญญาให้บริการสมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง เป็นเหตุให้บริษัท ชินวัตร ไดเร็คทอรี่ส์ จำกัด ได้รับผลประโยชน์ และขณะนี้กำลังรอคำตัดสินของบอร์ดว่าจะกำหนดโทษให้ "ไล่ออก-ปลดออก-ให้ออก"

รวม ถึงบรรดาเลขานุการบอร์ดในสมัยที่มีการแก้ไขสัญญาสัมปทาน อาทิ ดร.อานนท์ ทับเที่ยง ซึ่งเคยเป็นเลขานุการบอร์ดในสมัยที่ปลัดกระทรวงการคลังคนปัจจุบัน "สถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์" เป็นหนึ่งในคณะกรรมการทีโอทีชุดที่มีการแก้ไขสัญญาพรีเพดด้วย

แต่ปลัดกระทรวงการคลังคนปัจจุบันดูจะลอยตัว เนื่องจากพบหลักฐานยืนยันว่า ไม่ได้เข้าร่วมประชุมวาระที่พิจารณาแก้ไขสัญญาดังกล่าว ขณะที่ "วรุธ" กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ทีโอทีคนปัจจุบัน แม้จะมีคำให้การของ "พิพัฒน์ ประทุมวงศ์" อดีตผู้จัดการส่วนงานผลประโยชน์ บมจ.ทีโอที ชี้เป้าว่า เป็นผู้ลงนามในหนังสือเสนอความเห็นให้ประธานบอร์ดในขณะนั้นเห็นชอบให้แก้ไข สัญญาโรมมิ่ง

แต่ "วรุธ" ก็ได้ค้นเอกสารเก่าเป็นหนังสือเสนอความเห็นให้บอร์ดพิจารณา ที่มีเลขที่ตามระบบสารบรรณชัดเจน แต่เนื้อหาภายในแตกต่างจากที่ใช้เป็นหลักฐานในศาล

คลังเอกสารเก่า เมื่อ 10 ปีที่แล้ว กลายเป็นสมบัติล้ำค่าที่จะพาให้ใครหลายคนมีชีวิตรอด (หรือไม่ ?) ใครค้นเจอหนังสือทางการหรือแม้เพียงกระดาษโน้ตคำสั่งที่ลงลายมือชื่อไว้ ต่างรีบคว้ามาเป็นเกราะป้องกันตัว แล้วโยนเผือกร้อนให้คนอื่น

คำพิพากษายึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อ 26 ก.พ.ที่ผ่านมา จึงเป็นเหมือนเป็นการกวาดขยะใต้พรมที่ซ่อนมานับ 10 ปี ออกมาสะสาง ทำให้สภาพทีโอทียามนี้บรรดาผู้บริหารทั้งหลายไม่มีเวลา และไม่มีใจให้กับงานในหน้าที่ เพราะต้องวุ่นกับการเคลียร์ปัญหาที่มีการก่อไว้ในอดีต

รวมถึงการประชุมระดมสมองภายในอย่างเต็มที่ ทั้งจากฝ่ายกฎหมาย ฝ่ายบริหารสัญญา บริหารการลงทุน และฝ่ายประชาสัมพันธ์ เพื่อหาทางรับมือกับวิกฤตที่โหมเข้ามา ทั้งปัญหาภาพลักษณ์องค์กร ความรับผิดทั้งทางแพ่งและอาญาของ ผู้บริหารระดับสูงในปัจจุบันที่เป็นผลพวงจากอดีต

แม้แต่บอร์ดชุด ปัจจุบันออกอาการสละเรือก็เริ่มปรากฏ ตั้งแต่ "ระเฑียร ศรีมงคล" ที่หนังสือลาออกอย่างเป็นทางการได้รับอนุมัติในวันที่ 26 ก.พ. วันอ่านคำพิพากษาคดียึดทรัพย์พอดี แม้จะอ้างว่าติดภารกิจ แต่แหล่งข่าวภายในทีโอทีเผยว่า เหตุผลที่แท้จริงเกิดจากความขัดแย้งภายใน โดยเฉพาะเรื่องที่นายระเฑียรเป็นตัวตั้งตัวตีในการเจรจาให้เอไอเอสเข้ามาโรม มิ่งดาต้าบนโครงข่าย 3G ของทีโอที แต่บอร์ดกลับไม่อนุมัติ

ขณะเดียว กันกระทรวงไอซีทียังได้ส่ง ผู้ตรวจราชการคนใหม่ "พ.ต.อ. สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย" อดีตรองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) ที่ได้รับมอบหมายเข้ามา สอบสวน สะสาง หาคนผิดตามคำพิพากษา เข้ามาเป็นบอร์ดทีโอทีคนใหม่อีกด้วย

งานนี้คงได้แต่บอกว่า "ใครทำอะไรไว้ก็ได้ผลอย่างนั้น"


หน้า 27
http://www.prachachat.net/view_news.php?newsid=02com05150353&sectionid=0209&day=2010-03-15

--
โปรดอ่านบล็อก
http://www.pridiinstitute.com
http://www.nakkhaothai.com
http://apps.facebook.com/blognetworks/index.php
http://www.roundfinger.com/
http://twitter.com/sweetblog
http://twitter.com/oknewsblog
http://twitter.com/okblogger
http://twitter.com/sat191
http://www.pacc.go.th/
http://twitter.com/okblogchan
http://twitter.com/sun1951
http://twitter.com/smeblogger
http://twitter.com/seminarblog
http://twitter.com/sunnewsblog
http://twitter.com/okworldblog
http://twitter.com/ktblogger
http://twitter.com/sundayblog
http://twitter.com/mondayblog
http://twitter.com/tuesdayblog
http://twitter.com/wednesdayblog
http://twitter.com/thursdayblog
http://twitter.com/fridayblog
http://twitter.com/saturdayblog
http://www.deepsouthwatch.org/node/687
http://www.tu.ac.th/org/ofrector/tu_council/record/nopporn.htm
http://www.visalo.org/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม