วันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11455 มติชนรายวัน มิวเซียมเกาะสมุย อย่าให้เป็นโกดังร้างเหมือนพิพิธภัณฑ์ คอลัมน์ สยามประเทศไทย โดย สุจิตต์ วงษ์เทศ ![]() 1.พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ และศูนย์ประวัติศาสตร์เกาะสมุย ที่บ้านหัวถนน งบฯ 200 ล้านบาท (ยังไม่รวมค่าที่ดิน) 2.พิพิธภัณฑ์ศูนย์วัฒนธรรมเกาะสมุย ที่บ้านหน้าทอน งบฯ 40 ล้านบาท "การจัดตั้งศูนย์ประวัติศาสตร์ จะเพิ่มรูปธรรมด้านวัฒนธรรม ทำให้เราขายความเป็นมาและความเป็นสมุยได้ด้วย" นายรามเนตร ใจกว้าง นายกเทศมนตรีเมืองเกาะสมุย กล่าวชี้แจงผลดีของโครงการ "มิวเซียม" เป็นความจริงว่า "มิวเซียม" ในโลกตะวันตก ทางยุโรป-อเมริกา เป็นจุดขายสำคัญมากของการท่องเที่ยวประเทศนั้นๆ โดยเฉพาะประเภทมิวเซียมประวัติธรรมชาติ หรือ Natural History Museum กระตุ้นการขายอย่างมีพลังล้นเหลือ เช่น ในลอนดอน, ในวอชิงตัน, รวมทั้งเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กในรัสเซีย
แต่สำหรับประเทศไทยแล้ว ยังไม่มีตัวอย่างให้เห็น ที่เห็นและเป็นอยู่คือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ล้วนเป็นแหล่งรวมโกดังร้างที่มีการจัดแสดงเฟอร์นิเจอร์สวยงาม และราคาแพงๆ โดยไม่มีเรื่องราวความรู้ทางประวัติศาสตร์ หรือประวัติธรรมชาติอะไรเลย นอกจากรู้อายุและความเก่าแก่เอาไว้ประเมินราคาซื้อขายในตลาดค้าของเก่า น่าสงสัยว่าเทศบาลเมืองเกาะสมุยจะหลุดพ้น "หลุมดำ" ของพิพิธภัณฑ์อย่างนี้ได้อย่างไร ยิ่งอ่านพบโครงการพิพิธภัณฑ์มี 2 แห่งซ้ำซ้อนกันบนเกาะสมุยที่มีพื้นที่แคบๆ ยิ่งไม่แน่ใจว่าเข้าใจเรื่อง "มิวเซียม" ไปทางไหน? แล้วเข้าใจเรื่องประวัติศาสตร์กับวัฒนธรรมอย่างไร? เกรงว่าจะเป็น "เกาะสมุยแฟนตาซี" มีแต่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมสร้างใหม่อย่างปลอมๆ ปนๆ จนแสบตา องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กินอิ่มนอนอุ่น อุดมสมบูรณ์ถ้วนหน้ามานานมาก เพราะก่อสร้างถนนหนทางจนไม่รู้จะก่อสร้างอะไรอีกแล้ว ควรหันกลับมา "สร้างปัญญา" ให้ชุมชนท้องถิ่นได้แล้ว นั่นคือ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของชุมชนท้องถิ่นนั้นๆ เช่น เกาะสมุย เป็นต้น ดูงบฯสร้างมิวเซียมบนเกาะสมุยแล้ว ชวนให้ อปท. พากันหันมารุมกันทำงานอย่างนี้ต่อไปข้างหน้า เกาะสมุย มีผู้คนดึกดำบรรพ์สุวรรณภูมิที่ชำนาญการเดินเรือทะเลสมุทร ผ่านมาตั้งหลักแหล่งไม่น้อยกว่า 2,000 ปีมาแล้ว มีมโหระทึก (หรือกลองทอง) พบที่วัดตลิ่งงาม (ตลิ่งพัง) เป็นพยานหลักฐานสำคัญ มโหระทึกใบนี้มีลายสลักรูปคนในเรือศักดิ์สิทธิ์ที่ควรแก่การค้นคว้าศึกษาวิจัยเครื่องแต่งกาย และลักษณะเรือยุคนั้น ตลอดจนพิธีกรรมเกี่ยวกับน้ำและทะเลสมุทรยุคดึกดำบรรพ์ ที่ลึกลับซับซ้อนตื่นเต้นระทึกใจอย่างยิ่ง และควรมีใน มิวเซียม นายมานิต วัฒนเสน อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) กระทรวงมหาดไทย มีเป้าหมาย "ให้คนท้องถิ่นปกครองกันเอง", "ผู้บริหารองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น เมื่อประชาชนเลือกเข้ามา จะต้องรับผิดชอบต่อประชาชนซึ่งอยู่ในท้องถิ่นนั้น" (มติชน ฉบับวันอังคารที่ 14 กรกฎาคม 2552 หน้า 8) คนท้องถิ่นจะปกครองกันเองได้จริง คนท้องถิ่นนั้นต้องมั่นใจตนเองอย่าง มีพลังแข็งแรง สิ่งหนึ่งที่จะผลักดันให้สำเร็จได้คือความรู้รากเหง้าเผ่าพันธุ์ตัวเองผ่านประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่ถูกต้อง น่าเสียดายที่อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นไม่ได้พูดถึงประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเลยแม้แต่คำเดียว คงไม่รู้จักกระมัง? หน้า 20 |
--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.sanamluang.bloggang.com
http://tham-manamai.blogspot.com
http://lifeanddeath2mcu.blogspot.com
http://www.parent-youth.net
http://www.tzuchithailand.org
http://www.presscouncil.or.th
http://ilaw.or.th
www.patani-conference.net
http://www.thaihof.org
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://elibrary.nfe.go.th
http://dbd-52.hi5.com
http://www.thaisara.com
http://www.rmutr.ac.th
http://www.bedo.or.th/default.aspx
www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น