บทวิเคราะห์ : ถอดบทเรียนแรงงานนอกระบบ(อาชีพคนทำงานในบ้าน)ตอน 1
ข้อมูลข่าวและที่มา ![]() |
บทวิเคราะห์ : ถอดบทเรียนแรงงานนอกระบบ(อาชีพคนทำงานในบ้าน)ตอน 2
![]()
บทวิเคราะห์ : ถอดบทเรียนแรงงานนอกระบบ
(อาชีพคนทำงานในบ้าน)
ตอน 2
อนาคตแรงงานนอกระบบฯกับการคุ้มครองและเข้าถึงสิทธิทางกฎหมายแรงงานไทย
จากสถานการณ์ด้านแรงงานที่ทำงานในบ้าน กำลังประสบภาวะไม่ได้รับความเป็นธรรมจากนายจ้างและสังคมหลายด้าน คณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน อาทิ เครือข่ายแรงงานนอกระบบ และแผนงานคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ได้ประสานความร่วมมือจัดงานรณรงค์และทำข้อเสนอต่อรัฐบาล ในการปกป้องคุ้มครองให้แรงงานนอกระบบอาชีพคนทำงานในบ้านได้รับการปฏิบัติ อย่างเท่าเทียมกัน อีกทั้งเพื่อสร้างความเข้าใจในระดับการรับรู้ เรียนรู้ทางสังคม เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติของประชาชนในชาติ และภูมิภาค โดยจัดสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง "อนาคตแรงงานนอกระบบอาชีพคนทำงานในบ้าน กับการคุ้มครองและเข้าถึงสิทธิกฎหมายแรงงานไทย" เมื่อที่ 27 สิงหาคม ที่ผ่านมา ณ โรงแรมปริ้นซ์ตั้น ปาร์ค สวีท ถ.มิตรไมตรี เขตดินแดง กทม. และในโอกาสนี้ กลุ่มเครือข่ายแรงงานนอกระบบ เครือข่ายปฎิบัติการเพื่อแรงงานข้ามชาติ เครือข่ายแรงงานทำงานบ้าน มูลนิธิร่วมมิตรไทย –พม่า มูลนิธิ MAP มูลนิธิเพื่อนหญิง ศูนย์ข่าวข้ามพรมแดน ได้รวบรวมข้อเสนอและโปสการ์ดติดตามส่งต่อไปยังรัฐบาลและกระทรวงแรงงาน ซึ่งมีข้อเสนอดังต่อไปนี้ 1. ขอให้รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงาน ได้แก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน โดยบัญญัติว่าต้องคุ้มครองแรงงานที่ทำงานบ้านอย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกับแรงงานในภาคส่วนอื่น 2. ขอให้รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงาน ได้กำหนดการตรวจสอบ ดูแลความปลอดภัย และอาชีวอนามัย เช่น ต้องให้นายจ้างจัดหาความจำเป็นขั้นพื้นฐานให้แก่ลูกจ้างทำงานงานตามความ เหมาะสมกับฐานะของผู้ว่าจ้าง ได้แก่ การจัดหาที่พักอาศัยที่ปลอดภัย ถูกสุขลักษณะ มีอาหารและน้ำดื่มที่สะอาด เป็นต้น 3. ขอให้รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงาน ได้จัดให้นายจ้างนำพาลูกจ้างทำงานบ้านเข้าสู่การมีบัตรประกันสังคม เพื่อสวัสดิการทางสังคมของลูกจ้างและครอบครัวในอนาคตและเป็นไปตามกฎหมายคุ้ม ครองแรงงาน 4. ขอให้รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงานได้คุ้มครองสิทธิและกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับ ลูกจ้างทำงานบ้านที่เป็นเด็ก ทั้งนี้ ห้ามมิให้นายจ้างจ้างแรงงานเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปีและห้ามมิให้แรงงานเด็กทำงานบ้านเกินวันละ 8 ชั่วโมง 5. ขอให้รัฐบาลโดยกระทรวงแรงงาน ได้จัดทำระบบการคุ้มครองทางทะเบียนลูกจ้างแรงงานทำงานบ้านโดยให้นายจ้าง หรือผู้ว่าจ้างได้ทำการแจ้งการจ้างลูกจ้างต่อสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครอง แรงงานในเขตพื้นที่ของตน ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกต่อการติดตาม คุ้มครองจากพนักงานตรวจแรงงาน อีกทั้งสามารถทราบตัวเลขที่แท้จริงของแรงงานในภาคส่วนนี้ได้อย่างเป็นระบบ 6. ขอให้รัฐบาลจัดทำนโยบายแผนและงบประมาณ เพื่อการส่งเสริม พัฒนาทักษะฝีมือแรงงงานให้กับลูกจ้างทำงานบ้าน เช่น การจัดทำหลักสูตรและฝึกอบรม การให้บริการ การทำอาหารอย่างอาชีพ อีกทั้งเปิดโอกาสให้ได้รับการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ โดยการไปฝึกอบรม และการไปศึกษา นายจ้างต้องอนุญาตให้ไปตามคำร้องขอจากลูกจ้าง และต้องจ่ายค่าจ้างเสมือนการมาทำงานให้กับนายจ้างตามที่กฎหมายแรงงานกำหนด ไว้ ด้านว่าที่ร้อยตรี ดร.สุเมธ ฤทธาคนี ประธานคณะกรรมาธิการการแรงงาน สภาผู้แทนราษฎร ยืนยันว่า ความไม่เป็นธรรมที่กลุ่มแรงงานนอกระบบที่ทำงานในบ้านได้รับ จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะถือเป็นแรงงานสำคัญส่วนหนึ่งของประเทศ เนื่องจาก จำนวนแรงงานกลุ่มนี้ มีจำนวนมากถึง 400,000 คน และสร้างเม็ดเงินสะพัดในประเทศ สูงถึง 27,000 ล้านบาท โดยหลังจากรับข้อเสนอและโปสการ์ดในครั้งนี้ จะต้องมีการเร่งแก้ไขกฎหมายของสำนักงานประกันสังคม ในส่วนของ พ.ร.บ.เงินทดแทน และกองทุนคุ้มครองแรงงาน ซึ่งคณะกรรมาธิการการแรงงาน กำลังผลักดันกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมสภานิติบัญญัติ เพื่อทำให้เกิดเป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองคนกลุ่มนี้ คนทำงานบ้าน คือ คนทำงาน และงานบ้าน เป็นงานที่มีคุณค่า แต่กลับถูกจัดความสำคัญทางสังคมจนไม่ได้รับสิทธิที่พึงจะได้รับตามกฎหมาย โดยเฉพาะสวัสดิการต่างๆ ดังนั้นวันแรงงานนอกระบบอาชีพคนทำงานในบ้านสากล ในวันนี้ อาจถือเป็นอีกเริ่มต้น ที่จะจุดประกาย ให้ทุกคนหันกลับมามองคุณค่า และปรับเปลี่ยนค่านิยมของสังคมในเรื่องนี้เสียใหม่ เพราะแรงงานทุกสาขาอาชีพ ก็ล้วนมีสิทธิและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ไม่แตกต่างกัน ชุติมา สุขวาสนะ เรียบเรียง
ชูชาติ เทศสีแดง บรรณาธิการ
ข้อมูลข่าวและที่มา ![]() |
--
ขอเชิญอ่าน blog.Thanks for visiting!
http://www.parent-youth.net
http://ilaw.or.th
http://ww2.oja.go.th/home
http://www.thaihof.org
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://www.projectlib.in.th
http://elibrary.nfe.go.th
http://www.nstda.or.th/th
http://www.arda.or.th
http://www.nppdo.go.th
http://www.tlcthai.com
http://dbd-52.hi5.com
http://www.oknation.net/blog/assistance
http://weblogcamp2009.blogspot.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น