ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ควานหา"ไอ้โม่ง"รุมทึ้งกองทุนประกันสังคม 6 แสนล้าน

วันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เวลา 20:36:07 น.  มติชนออนไลน์
 


ควานหา"ไอ้โม่ง"รุมทึ้งกองทุนประกันสังคม 6 แสนล้าน

โดย..ประสงค์ วิสุทธิ์

เงินกองทุนประกันสังคมถูกนำไปลงทุนอยู่ในเงินฝาก พันธบัตร ตราสารหนี้และหลักทรัพย์ประเภทต่างๆ  ณ วันที่ 31 มีนาคม 2552 มีมูลค่าเกือบ 600,000 ล้านบาท( 588,955,459,061 บาท) ถือเป็นขุมทรัพย์จำนวนมหาศาลสำหรับผู้มีอำนาจทางการเมือง


ในช่วงที่ผ่านมาจึงมักได้ยินข่าวว่า นักการเมืองพยายามทุกวิถีทางที่จะแสวงหาประโยชน์จากกเงินกองทุนประกันสังคมในรูปแบบต่างๆ อาทิ


@ การทำสัญญาเช่าจัดหาและดำเนินการระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศ(คอมพิวเตอร์)แรงงานของสำนักงานประกันสังคม มูลค่า 2,800  ล้านบาทเมื่อปี 2549 โดยอ้างว่า นำไปใช้ในในการบริหารจัดการเงินกองทุนซึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)มีมติเมื่อวันอังคารที่ 16 มิถุนายน 2552 ว่า การกระทำของนายไพโรจน์  สุขสัมฤทธิ์  อดีตเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม(สปส.) มีมูลความผิดทางวินัยอย่างร้ายแรง   และมีมูลเป็นความผิดทางอาญา ฐานเป็นเจ้าพนักงาน ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157


หลังจากนายไพโรจน์ เกษียณอายุราชการได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทยเมื่อวันที่14 กุมภาพันธ์ 2552 พรรคดังกล่าวมีนายสมศักดิ์ เทพสุทิน อดีตรับมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นผู้สนับสนุน


@ สปส. ขออนุมัติเงินจากคณะกรรมการประกันสังคม 500 ล้านบาทเพื่อซื้อที่ดินและอาคารวัฏจักร บริเวณ ถนนบรมราชชนนี ตลิ่งชัน กทม. โดยอ้างว่า เพื่อทำเป็นอาคารสำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 6 และอาคารศูนย์ฝึกอบรม ของ  สปส. แยกเป็นค่าซื้อที่ดินและอาคาร 389 ล้านบาท และค่าปรับปรุงอาคาร 111 ล้านบาท ทั้งที่อาคารดังกล่าวผู้ขายยังไม่ได้รับโอนจากกรมบังคับคดีและซื้อมาในราคาไม่ถึง 200 ล้านบาท


อย่างไรก็ตามตัวอย่างที่ขอกล่าวถึงละอียดเป็นเรื่องการนำเงินกองทุนประกันเกือบ 500 ล้านบาทไปซื้อหุ้นธนาคารไทยธนาคาร จำกัด(มหาชน)หรือ บีที จำนวน 63,159,300 หุ้น มูลค่า479,967,207 บาท(ราคาเฉลี่ยราคาหุ้นละ 7.60 บาท)เมื่อเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2549 อย่างมีพิรุธ


จากบันทึกการประชุมคณะกรรมการการลงทุน สำนักงานบริหารการลงทุน สปส.เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 ซึ่งมี นายธนาชล สุริยนาคางกูร รองเลขาธิการ สปส.ในขณะนั้นเป็นประธาน ได้อ้างต่อที่ประชุมว่า เลขาธิการ สปส.มีข้อสั่งการงานนโยบายให้ลงทุนในหุ้นสามัญของ บีทีซึ่งปกติการซื้อหุ้นของ สปส.จะเป็นการซื้อมาขายไป แต่การพิจารณาหุ้นบีที เป็นงานนโยบายที่จะซื้อเพื่อให้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่มากกว่า 50% ดังนั้นเมื่อเป็นงานนโยบาย สปส.ก็ควรต้องทำ


"...ในกรณีนี้ผู้บริหารมีนโยบายให้ลงทุนเพราะมีแรงบีบจากสภาและฝ่ายแรงงาน ดังนั้นนโยบายคือให้เราถือหุ้นมากพอที่จะคัดหางเสือแบงก์ แม้จะตกหล่นในระยะแรก แต่ให้ได้บรรลุวัตถุประสงค์ในการตั้งแบงก์และในสัปดาห์หน้าขอให้หยุดซื้อหุ้นทุกตัวโดยให้ซื้อแค่บีทีเท่านั้น"


อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์การลงทุนได้มีบันทึกผลการวิเคราะห์หุ้นบีทีว่า เป็นบริษัทที่มีการทำกำไรที่ค่อนข้างต่ำโดยส่วนต่างดอกเบี้ยเพียง 1.45% ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่มีส่วนต่างดอกเบี้ยสูงกว่า 3.6% เนื่องจาก บีทีมีต้นทุนในการระดมเงินฝากสูง


ในขณะที่สินเชื่อโอนส่วนใหญ่ที่รับโอนมาจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินมีผลตอบแทนต่ำ ทั้งนี้คาดว่า บีทีจะไม่จ่ายเงินปันผลในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า เนื่องจากยังมีเงินที่ที่ต่ำโดยมีกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงเพียง 9.3%(จากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดไว้ 8.5%)


ราคาซื้อขายที่เหมาะสม ตามมูลค่าบัญชีในปี 2549 คาดว่าจะเป็น 6 บาท

 

จากข้อเท็จจริงดังกล่าว คณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณี สปส.ได้ใช้เงินกองทุนประกันสังคมซื้อหุ้นบีทีกว่า 60 ล้านหุ้นซึ่งมี นายผดุงศักดิ์ เทพหัสดิน ณ อยุธยา อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เป็นประธานสรุป การลงทุนซื้อหุ้น บีที ว่ามีข้อพิรุธบางประการ ดังนี้


1.การสั่งการงานนโยบายให้ลงทุนในหุ้น บี ที ด้วยเหตุเพราะมีแรงบีบจากสภาและฝ่ายแรงงาน โดยไม่ดำเนินการตามคำแนะนำและความเห็นต่อการลงทุน ตลอดจนรายงานการวิเคราะห์การลงทุนในหุ้น บี ที ของที่ปรึกษาด้านการลงทุน (ผู้จัดการกองทุน) ซึ่งวิเคราะห์โดยอาศัยหลักวิชาการและวิชาชีพตามมาตรฐานการจัดการกองทุนของผู้จัดการกองทุนหรือผู้ทำหน้าที่ที่ปรึกษาการลงทุน


ทั้งๆ ที่บุคคลเหล่านี้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน และ สปส.จ้างไว้เพื่อการนี้อาจส่งผลให้กองทุนประกันสังคมมีความเสี่ยงและมีโอกาสที่จะขาดทุนจากการลงทุนซื้อหุ้นได้โดยกรณีการซื้อหุ้น บีที ของ สปส.ต้นทุนเฉลี่ยประมาณ 7.60 บาท/หุ้น แต่ราคาปิด ณ วันที่ 23 มกราคม 2550 อยู่ที่ 4.82 บาท/หุ้น แม้  สปส.ยังไม่ได้ทำการขายหุ้น บีที แต่มูลค่าทางตลาดของหุ้น บีที ก็ลดลง


2.การสั่งการให้ซื้อหุ้น บี ที โดยแจ้งว่า มีนโยบายที่จะซื้อเพื่อถือหุ้นมากกว่าร้อยละ 50 เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการเข้าเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่เพียงพอที่จะกำหนดนโยบายใน ไทยธนาคาร


 แต่จากข้อเท็จจริงปรากฏว่า ได้ดำเนินการซื้อหุ้น บีที ในช่วงระหว่างวันที่ 23 มกราคม 2549 ถึงวันที่ 21 เมษายน 2549 เท่านั้น โดยไม่ได้มีคำสั่งซื้อขายตราสารทุนในหุ้น บีที อีก ทำให้สปส.ถือครองหุ้น บีที เป็นจำนวนรวม 63,159,300 หุ้น ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 4.23 ของจำนวนหุ้น บีที ทั้งหมด จึงไม่สอดคล้องกับนโยบายที่จะซื้อเพื่อถือหุ้นมากกว่าร้อยละ 50 ตามที่ได้แจ้งให้ที่ประชุมคณะกรรมการการลงทุนทราบเมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549 แต่อย่างใด


3.การสั่งการให้ซื้อผ่านนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ คือ บริษัท หลักทรัพย์ บี ฟิท จำกัด (มหาชน) แต่เพียงรายเดียว ตามคำสั่งซื้อขายตราสารทุนระหว่างวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2549  ถึงวันที่ 21 เมษายน 2549 โดยไม่สลับใช้นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์รายอื่น อาจเสี่ยงต่อการที่นายหน้า ซื้อขายหลักทรัพย์จะรับทราบถึงรายการซื้อขายหลักทรัพย์หุ้นสามัญที่ต่อเนื่องของกองทุนประกันสังคม


เพราะส่วนใหญ่กองทุนประกันสังคมจะมีการซื้อขายตราสารทุนแต่ละตัวอย่างต่อเนื่องและซื้อเป็นวงเงินหลายสิบล้านบาท ก็จะทำให้นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์รู้ข้อมูลล่วงหน้า และอาจจะส่งผลให้บุคคลภายนอกนำข้อมูลการซื้อขายของ สปส.ไปหาประโยชน์ได้ ซึ่งที่ผ่านมา สปส.ได้วางแผนปฏิบัติโดยกำหนดหลักเกณฑ์การใช้โบรกเกอร์โดยจะสลับใช้นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ เนื่องจากไม่ต้องการให้โบรกเกอร์แต่ละรายเห็นรายการซื้อขายหลักทรัพย์หุ้นสามัญที่ต่อเนื่องของกองทุนประกันสังคม


4. คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงมีหนังสือถึงเลขาธิการ สปส. เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2550 เพื่อขอข้อมูลรายชื่อเจ้าของหุ้น บี ที เดิมก่อนโอนขายให้ สปส. เพื่อตรวจสอบหาความเกี่ยวข้องด้านผลประโยชน์ของเจ้าของหุ้น บีที เดิม แต่ได้รับแจ้งจาก สปส.ว่าอยู่ระหว่างการประสานกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ถึงความเป็นไปได้ ในการขอข้อมูลเพื่อการตรวจสอบ


อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2550 คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงได้มีหนังสือถึงเลขาธิการ สปส.เพื่อขอทราบผลคืบหน้า และได้มีหนังสือถึงกรรมการผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์เพื่อขอข้อมูลดังกล่าว แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่ได้รับข้อมูลดังกล่าวแต่ประการใด(รายงานผลการสอบข้อเท็จจริงกรณีดังกล่าว ลงวันที่ 22 มีนาคม 2550 ถึงปลัดกระทรวงแรงาน)


จากข้อพิรุธดังกล่าว คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงเสนอให้ตั้งคณะกรรมการสอบทางวินัยรองเลขาธิการ สปส.ซึ่งเป็นผู้สั่งการให้ซื้อหุ้นบีที

 

แต่ปรากกว่า หลังจากนั้นคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแล้วสรุปว่า รองเลขาธิการ สปส.ไม่มีความผิดโดยอ้างว่า เมื่อ สปส.ยังไม่ได้ขายหุ้นบีทีซึ่งมีราคาต่ำกว่าที่ซื้อมา จึงยังไม่เกิดผลขาดทุน


อย่างไรก็ตามมีผู้บริหารระดับสูงในกระทรวงแรงงานบางคนทำบันทึกเสนอปลัดกระทรวงแรงงานให้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการ ป.ป.ช.ไต่สวน แต่กลับมีการเก็บเรื่องเงียบ ทั้งๆที่มีข้อพิรุธที่น่าจะต้องทำให้กระจ่างคือ

 

หนึ่ง นโยบายในการสั่งซื้อหุ้นบีทีเกือบ 500 ล้านบาทในราคาที่สูงกว่าที่ควรจะเป็นและไม่สนใจเรื่องความเสี่ยงสูง เป็นคำสั่งของใครมาจากไหน เป็นของเลขาธิการ สปส.หรือมีผู้มีอำนาจทางการเมืองที่สูงกว่าเลขาธิการ  สปส.


สอง ทำไมจึงสั่งซื้อหุ้นบีทีผ่านบริษัท หลักทรัพย์ บี ฟิท จำกัด เพียงรายเดียว บริษัทดังกล่าวมีสายสัมพันธ์กับผู้บริหารระดับสูงในกระทรวงแรงงานหรือมีสายสัมพันธ์กับผู้อำนาจทางการเมืองที่ครอบงำกระทรวงแรงงานรายใดหรือไม่


สาม ปกติการเข้าซื้อหุ้นธนาคารพาณิชย์เพื่อให้เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่และมีอำนาจบริหาร ต้องขออนุมัติจากธนาคารแห่งประเทสไทยโดยเฉพาะจากกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินต้องขออนุมัติจากกระทรวงการคลังด้วย ซึ่งต้องมีการเจรจาถึงราคาและสัดส่วนการถือครองหุ้น ไม่ใช่การไล่ซื้อหุ้นในตลาด  ดังนั้นมติที่อ้างว่า ต้องการเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ใน บีที 50% จึงบมีพิรุธอย่างยิ่ง


ถ้ากระทรวงแรงงานยังไม่สามารถทำเรื่องนี้ให้กระจ่างและปล่อยให้เรื่องเงียบหายเหมือนที่ผ่านๆมา คงไม่มีทางหยุดการรุมทึ้งเงินเกือบ 600,000 ล้านบาทได้ง่ายๆ



--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.baanjomyut.com/library/lotus
http://www.educationatclick.com
http://www.pwdom.com
http://weblogcamp2009.blogspot.com/2009
http://www.twitter.com/kajorn
http://www.twitter.com/BKKFlashCamp
http://camp02.readyhomepage.com
http://www.twitter.com/sun1951
http://www.twitter.com/joomlacorner
http://sun1951.vaivaitraining.com
http://sun1951.wordpress.com
http://www.educationatclick.com/th/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก