ใครๆก็แก้กฎหมายได้(คุณก็ด้วย)
Bookmark and Share

วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552

"ได๋ ไดอาน่า"พบรมว.แรงงาน รณรงค์ขอสิทธิให้ผู้ลี้ภัย




วันที่ 02 สิงหาคม พ.ศ. 2552 เวลา 11:26:50 น.  มติชนออนไลน์

"ได๋ ไดอาน่า"พบรมว.แรงงาน รณรงค์ขอสิทธิให้ผู้ลี้ภัย

 

นายวีรวิชญ์ เธียรชัยนันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการเพื่อผู้ลี้ภัยและผู้อพยพแห่งสหรัฐอเมริกา (ยูเอสซีอาร์ไอ) ประจำประเทศไทย และทีมงานได้นำนางสาว สุพรรณี หรือ “น้องได๋” ไดอาน่า จงจินตนาการเข้าเยี่ยมพบ นายไพฑูรย์ แก้วทอง รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน เพื่อเข้าทำการคารวะและแนะนำตัวในฐานะทูตผู้ลี้ภัยคนแรกของประเทศไทย พร้อมกับขอคำแนะนำจากนายไพฑูรย์ แก้วทองเกี่ยวกับการให้สิทธิผู้ลี้ภัยได้ทำงานอย่างถูกกฎหมาย เช่นเดียวกับแรงงานต่างด้าวที่ได้รับการจดทะเบียนอย่างถูกกฏหมาย 


นางสาวสุพรรณี หรือ ได๋ ไดอาน่า กล่าวกับนายไพฑูรย์ แก้วทอง ว่า ผู้ลี้ภัยในประเทศไทยถูกกักเก็บอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศไทยมากว่า 30 ปี และที่สำคัญผู้ลี้ภัยเหล่านี้มีความแตกต่างกับแรงงานต่างด้าวอย่างสิ้นเชิง แต่พวกเขาไม่มีสิทธิในการได้รับอนุญาตให้ทำงานโดยถูกกฎหมาย อันเนื่องมาจากนโยบายที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของชาติ     

 

นายวีรวิชญ์ ผู้อำนวยการยูเอสซีอาร์ไอประจำประเทศไทย  กล่าวเสริมไดอาน่าว่า ทางยูเอสซีอาร์ไอได้เข้าไปพบกับหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอดจนได้มีการปรึกษากับทางสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ซึ่งก็เริ่มมีความคิดเห็นที่คล้อยตามว่า น่าจะมีการทบทวนนโยบายเกี่ยวกับผู้ลี้ภัยที่ได้ดำเนินการมากว่า 30 ปี น่าจะมีการนำมาปัดฝุ่น และแก้ไขให้เหมาะสมกับสถานการณ์ภายในประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป


นายไพฑูรย์กล่าวว่า ทางกระทรวงแรงงานเองพยายามที่จะระมัดระวังในเรื่องของการบริหารจัดการเกี่ยวกับแรงงานต่างด้าวโดยเปิดโอกาสให้มีการขึ้นทะเบียนให้เป็นแรงงานต่างด้าวที่ถูกกฎหมาย เพราะถ้าแรงงานต่างด้าวผู้ใดยังคงเป็นแรงงานที่ผิดกฎหมายก็จะต้องถูกผลักดันให้ออกไป เพราะสำหรับแรงงานต่างด้าวที่จดทะเบียนอย่างถูกต้องทางกระทรวงแรงงานก็จัดการดูแลไม่ให้นายจ้างเอาเปรียบแรงงานเหล่านี้ พร้อมกับดูแลให้จ่ายค่าตอบแทนให้กับแรงงานเหล่านี้ตามค่าแรงขั้นต่ำตามกฏระเบียบของกระทรวง

 

“ตอนนี้ทางกระทรวงฯเองก็ถูกโจมตีอย่างหนักจากประชาชนคนไทยหลายๆคนภายใต้สภาวะเศรษฐกิจที่เผชิญวิกฤตแบบนี้ว่า  ทำไมกระทรวงแรงงานยังคงยอมให้คนต่างชาติหรือคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศไทย ทั้งๆที่มีคนไทยเป็นแสนๆที่ยังว่างงานอยู่?”

 

นายไพฑูรย์กล่าวว่า จริงๆแล้วกระทรวงแรงงานเอง มีตำแหน่งงานว่างอยู่เป็นแสน แต่มีผู้ที่ว่างงานหลายคนเลือกงาน ทั้งๆ ที่สโลแกนของกระทรวงแรงงานคือ “ไม่เลือกงาน ก็ไม่ตกงาน” สำหรับกรณีของการอนุมัติให้ผู้ลี้ภัยมีสิทธิในการทำงานนอกค่ายผู้ลี้ภัยอย่างถูกกฎหมายนั้น กระทรวงแรงงานคงต้องรอดูนโยบายของกระทรวงมหาดไทยผู้มีหน้าที่รับผิดชอบกับการอนุมัติให้ผู้ลี้ภัยได้สิทธิในการทำงานนี้เสียก่อน ถ้ากระทรวงมหาดไทยไม่ขัดข้องที่จะอนุมัติ ทางกระทรวงแรงงานก็ยินดีที่จะให้ผู้ลี้ภัยสามารถทำงานได้อย่างถูกกฎหมาย โดยดำเนินขั้นตอนทุกอย่างเช่นเดียวกับแรงงานต่างด้าว โดยต้องมีการจดทะเบียนแรงงานอย่างถูกกฎหมาย เพราะความต้องการแรงงานทั่วประเทศยังมีอยู่อีกมาก


นายวีรวิชญ์ได้ชี้แจงต่อรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานว่า กลุ่มผู้ลี้ภัยที่หนีภัยความตายเข้ามาพึ่งประเทศไทยเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยที่ทางรัฐบาลพม่าไม่ต้องการให้กลับไปอยู่ในประเทศของตนอีกแล้ว ดังนั้นการแก้ปัญหาจึงมีเพียงหนทางเดียวคือการผลักดันให้ไปอยู่ในประเทศที่สาม เพราะฉะนั้นในช่วงระยะเวลาที่ผู้ลี้ภัยเหล่านี้รอการส่งไปอยู่ในประเทศที่สามประกอบกับการสนับสนุนทางด้านการเงินของประเทศผู้บริจาคก็กำลังลดการสนับสนุนลงไปถึง 20-30เปอร์เซนต์จากที่เคยให้การสนับสนุน การให้โอกาสผู้ลี้ภัยเหล่านี้มีโอกาสในการประกอบอาชีพและได้ฝึกทักษะในการทำงาน ก็อาจจะเป็นจุดดีสำหรับประเทศไทย  เพราะสิ่งที่เห็นได้ชัดหลังจากที่ประเทศผู้บริจาคลดการสนับสนุนลงจึงทำให้การแจกจ่ายอาหารให้กับผู้ลี้ภัยก็ลดจำนวนลงไปซึ่งผู้ลี้ภัยได้รับผลกระทบตรงนี้โดยตรง จนทำให้เกิดปัญหาการลักลอบออกไปเป็นแรงงานต่างด้าวแบบผิดกฎหมายเพื่อหาเงินมาจุนเจือครอบครัวของตนเอง และผู้ลี้ภัยเหล่านี้ต้องตกเป็นเหยื่อของพวกที่ค้ามนุษย์  ดังนั้นตรงนี้ประเทศไทยเองน่าจะมีรูปแบบของการบริหารจัดการที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น


ในตอนท้ายนางสาวสุพรรณีได้ปรึกษากับนายไฑูรย์ เกี่ยวกับสิทธิของผู้ลี้ภัยในการทำงานอย่างถูกฏหมาย สำหรับผู้ลี้ภัยที่อยู่ในวัยทำงานว่า ณ.ปัจจุบันผู้ลี้ภัยทั้งหมดที่อยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยทั้ง 9 ค่ายใน 4  จังหวัดมีอยู่ทั้งสิ้นประมาณ 140,000 คนนั้น ประมาณ 3-4 หมื่นคนที่กำลังอยู่ในวัยทำงาน และอีกประมาณ 9 หมื่นคนที่เป็นเด็กและคนชรา นายไพฑูรย์มีความคิดเห็นเช่นใดต่อข้อเท็จจริงข้อนี้ ซึ่งนายไพฑูรย์ก็ได้ให้ความคิดเห็นว่า โดยส่วนตัวเขาเห็นด้วยกับการที่จะให้ผู้ลี้ภัย้หล่านี้จะสามารถพึ่งพาตนเองได้ ด้วยการให้สิทธิในการทำงานอย่างมีอิสระและถูกกฎหมาย ตามหลักมนุษยชน เพราะการทำงานด้วยตนเองก็จะสามารถหารายได้ด้วยตนเองและส่งผลให้พวกเขาสามารถพึ่งพาตนเองได้  แต่ถ้าตอบในแง่ของการมองถึงส่วนรวมเป็นหลัก การอนุญาตให้ผู้ลี้ภัยเหล่านี้ทำงานได้อย่างถูกกฎหมายอาจจะเป็นจุดผลักดันให้เกิดการล้นทะลักของแรงงานข้ามชาติหรือแรงงานต่างด้าวให้เข้ามาในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น

 

นางสาวสุพรรณี กล่าวว่าการที่ยูเอสซีอาร์ไอและตนเองในฐานะฑูตผู้ลี้ภัยได้เข้าพบกับท่านรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานวันนี้ เป็นเพียงเพื่อเยี่ยมคารวะและเรียนปรึกษาเพื่อขอคำแนะนำจากท่านรัฐมนตรีกระทรวงแรงงานในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของสิทธิในการทำงานของผู้ลี้ภัยในค่ายกักกันควรจะเป็นไปในทิศทางใด ในเมื่อการสนับสนุนจากประเทศผู้บริจาคเริ่มที่จะลดปริมาณเงินทุนในการสนับสนุนการทำงานเพื่อผู้ลี้ภัยลง และมีแนวโน้มว่าจะมีการถอนตัวออกไปในอนาคตเพราะตอนนี้ยังมีผู้ลี้ภัยชาวกะเหรี่ยงจำนวนมากที่กำลังรอการให้ความช่วยเหลืออยู่ และผู้ลี้ภัยเหล่านี้ก็ถูกกักกันอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยมานานกว่า 30 ปี ดังนั้นจึงเป็นการสูญเปล่าของทรัพยากรมนุษย์ ที่น่าจะเป็นแรงงานที่มีคุณค่าต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยได้อีกกลุ่มหนึ่ง 

                                         http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1249187318&grpid=03&catid=04

--
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.parent-youth.net
http://www.familynetwork.or.th
http://www.tzuchithailand.org
http://www.presscouncil.or.th
http://ilaw.or.th
http://thainetizen.org
http://www.ictforall.org
http://icann-ncuc.ning.com
http://dbd-52.hi5.com
http://www.webmaster.or.th
http://www.thailandshowtime.com/2009

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ผู้ติดตาม

คลังบทความของบล็อก